ประวัติพระอัสสชิ

พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่งในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้นเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4
หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก 60รูปที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนารุ่นแรก ในเช้าวันหนึ่ง ท่านได้ออกบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อิริยาบถอันสงบสำรวมขณะเดินบิณฑบาตของท่านได้ก่อให้เกิดความประทับใจแก่มาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเห็นท่านโดยบังเอิญ อุปติสสะจึงติดตามท่านไปห่าง ๆ ครั้นพอได้โอกาสขณะพระอัสสชิเถระนั่งฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการและเรียนธรรมะจากท่าน พระอัสสชิเถระออกตัวว่า ท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้ อุปติสสะจึงกราบเรียนให้ท่านแสดงธรรมแต่โดยย่อ ท่านจึงแสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและการดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้อุปติสสะครั้งได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้เป็นสหาย และครั้งโกลิตะฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกันจึงได้พากันออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ท่านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง มีบุคลิกน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ การคู้การเหยียดซึ่งมือและเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง และไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบ ๆ โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ไหนเลย
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระอัสสชิเถระมีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใส สมถะ สำรวมระวังกิริยามารยาท ดังที่อุปติสสะได้พบเห็นท่านแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจ น่าเลื่อมใส ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นสื่อที่ชักจูงให้ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ เข้ามาหา และมาสัมผัสรสพระธรรมเป็นอย่างดี บุคคลผู้สำรวมระวังรักษากิริยามารยาท ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจและน่าเลื่อมใสของผู้อื่น
2. พระอัสสชิเถระเป็นนักสอนศาสนาที่เชี่ยวชาญมิใช่น้อย การประกาศธรรม มิได้หมายความว่าจะต้องพูดเก่ง พูดได้ยืดยาว หากรู้จักพูด รู้จักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้อุปนิสัยของผู้ฟังด้วยแล้ว แม้แสดงเพียงสังเขปก็สัมฤทธิ์ผล ดังท่านได้แสดงแก่อุปติสสมาณพนั้น
3. พระอัสสชิเถระเป็นผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้อุปติสสมาณพ และโกลิตะมาณพเข้ามาบวช ต่อมาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระกีสาโคตมีเถรี

พระกีสาโคตมีเถรี เดิมมีชื่อว่า กีสา เพราะรูปร่างผอมบาง ส่วนโคตมีเป็นชื่อโคตร (ตระกูล) ท่านเป็นธิดาของตระกูลที่เก่าแก่ตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งนางเดินไปที่ตลาดได้เหลือบไปเห็นพ่อค้าคนหนึ่งนำเอาทองมากองไว้ นั่งเฝ้าดังหนึ่งจะขายให้แก่คนทั่วไป นางจึงเข้าไปถามด้วยคำว่า “คุณพ่อ คนอื่นเขาขายผ้า ขายน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อนำทองมาขาย “ ด้วยคำพูดของนางทำให้พ่อค้าที่ถูกเรียกว่า “คุณพ่อ” ตื่นเต้นเป็นการใหญ่ เนื่องจากพ่อค้าคนนี้เดิมเป็นเศรษฐีในเมืองสาวัตถี จู่ ๆ วันหนึ่ง ทองที่มีทั้งหมดได้กลายเป็นถ่านซึ่งอาจเกิดจากผลแห่งบาปกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของเศรษฐีเอง จึงสร้างความตกใจและความโศกเศร้าแก่เศรษฐีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อเพื่อนเศรษฐีที่รู้เรื่องราวก็พากันมาปลอบโยนและแนะนำให้เศรษฐีให้ลองเอาถ่านทั้งหมดไปกองไว้ที่ตลาดที่คนเดินผ่านไปมา หากคนที่ผ่านไปมามองเห็น ว่าเป็นถ่านจะพูดอย่างไรก็ไม่ต้องไปสนใจ แต่เผื่อมีใครสักคนมองเห็นแล้วพูดว่าทองก็ให้คน ๆ นั้นจับถ่านเหล่านี้แล้ว ถ่านก็อาจกลายเป็นทองได้ เศรษฐีจึงได้ทำตามคำแนะนำของเพื่อน เมื่อนางกีสาโคตมีมาพบและพูดทักว่าทำไมเอาทองมากองดังหนึ่งจะขายดังกล่าวมาข้างต้นเศรษฐีจึงมีความตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งจึงให้นางลองหยิบให้ดู เมื่อนางหยิบถ่านขึ้นมาก้อนหนึ่ง ถ่านก็กลายเป็นทองจริง ๆ และเมื่อนางหยิบก้อนถ่านทั้งหมด ก้อนถ่านเหล่านั้นก็กลายเป็นทองตามเดิม เศรษฐีรู้ว่านางยังไม่แต่งงาน จึงไปสู่ขอพ่อแม่ของนางแต่งงานกับบุตรชายของตนและรับนางมาอยู่ที่ตระกูลสามี
อยู่มาไม่นาน นางก็ให้กำเนิดบุตรน่ารักคนหนึ่ง ยังความปลาบปลื้มแก่สมาชิกในตระกูลเป็นอย่างยิ่ง แต่อยู่ได้ไม่นาน บุตรน้อยของนางก็เสียชีวิตกระทันหัน นางร่ำไห้เสียใจเป็นอย่างมาก จนสติฟั่นเฟือนครึ่งบ้า ไม่ยอมให้ใครเผาศพลูกชาย คิดเข้าข้างตัวว่าลูกชายของตนยังไม่ตาย เพียงสลบไปเท่านั้น มิไยใครเขาจะบอกว่าลูกของนางตายแล้วก็ไม่ฟัง นางเที่ยวเสาะหาคนที่จะสามารถรักษาลูกชายของนางให้กลับฟื้นได้จนมีผู้แนะนำให้นางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธองค์รักษา นางดีใจเป็นอย่างยิ่งจึงได้อุ้มศพบุตรชายรีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน นอกเมืองสาวัตถีเมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว นางได้กราบทูลให้พระพุทธองค์รักษาบุตรน้อยพระพุทธองค์ตรัสให้นางไปเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาสักกำมือหนึ่ง และเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะต้องเอามาจากบ้านเรือนที่ไม่มีใครตาย เมื่อได้มาแล้วพระองค์จะทำยาให้นางกีสาโคตมีอุ้มลูกน้อยไปเที่ยวขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากชาวบ้านทั่วทุกครัวเรือน ไม่ได้แม้แต่เมล็ดเดียว เนื่องจากแต่ละครัวเรือนก็มีคนตายมาแล้วทั้งสิ้น จนในที่สุดนางก็ได้สติกลับคืนมาและคิดได้ว่าความตายนั้นไม่ใช่ตายเฉพาะลูกเราคนเดียว คนอื่นก็ตายด้วย สักวันหนึ่งเราเองก็จะต้องตายเหมือนกัน ความตายเป็นสัจจะแห่งชีวิต สิ่งใดมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็มีการแตกดับไปในที่สุด เมื่อคิดได้ดังนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาก็โพลงขึ้นกลางใจ ความเศร้าโศกที่แบกรับมาจนหนักอึ้งก็ผ่อนคลายเบาบาง จิตใจสดชื่น โปร่งโล่งสบาย นางจัดการเผาศพลูกชายตนเอง แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ก็ได้ตรัสโลกธรรมสั้น ๆ ให้ฟังว่า“มฤตยูย่อมพาชีวิตของคนที่ยึดติดมัวเมาในบุตรและในทรัพย์สินไป ดุจเดียวกับกระแสน้ำหลากมาพัดพาเอาชีวิตของประชาชนผู้นอนหลับไหลไป ฉะนั้น”
สิ้นสุดพระธรรมเทศนาสั้น ๆ นางกีสาโคตมีก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล กราบทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุณี พระองค์ทรงส่งนางไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ เมื่อบวชแล้วได้นามตามเดิมว่า “พระกีสาโคตมีเถรี” วันหนึ่ง ขณะพระเถรีตามประทีปให้สว่างในวิหาร เห็นเปลวประทีบลุกแล้วหรี่ลง ลุกแล้วหรี่ลง เช่นนี้ตลอด ได้กำหนดเอาแสงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐาน แล้วเกิดความรู้ขึ้นว่า ชีวิตสัตว์ทั้งหลายดุจเดียวกับแสงประทีป เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิดใหม่ เวียนว่ายอยู่ในวงจรแห่งการเกิดดับอยู่ ไม่รู้นานเท่าไร จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานนั้นแหละ จึงจะหยุดวงจรแห่งการเกิดดับนี้ได้ ฉับพลันนั้นเองได้ปรากฏแสงสว่างเรืองรองประหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับต่อหน้านาง พระสุรเสียงกังวานแว่วมาว่า “ถูกแล้ว กีสาโคตมี ผู้ใดเห็นแจ้งในพระนิพพาน แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ยังประเสริฐกว่าผู้มีอายุตั้งร้อยปีแต่ไม่เห็นแจ้ง” เมื่อสิ้นสุดพระพุทธภาษิต พระกีสาโคตมีเถรีก็ได้บรรลุพระอรหันตผลพร้อมปฏิสัมภิทาพระกีสาโคตมีเถรีได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่ายอย่างยิ่ง เป็นสตรีที่มีบทบาทในการจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งท่านหนึ่ง
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระกีสาโคตมีเถรี ได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตอันขมขื่นมาแล้ว รู้รสชาติแห่งความทุกข์เพราะวิปโยค เมื่อมาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสุขที่แท้จริงแล้ว ก็มีความสงสารเห็นใจผู้ยังอยู่ในห้วงทุกข์นั้น จึงมักเทศน์สั่งสอนผู้คนผู้กำลังทุกข์ ให้หาทางแก้ทุกข์ในทางที่ถูกต้อง วิธีเอาชนะทุกข์ได้เด็ดขาด คือหันหน้ามาเผชิญกับความทุกข์ รับรู้ความจริงว่ามันเป็นทุกข์เพราะเหตุใด แล้วพยายามแก้ไขที่ต้นเหตุด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะแก้ทุกข์ได้
2. พระกีสาโคตมีเถรี ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่าย จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านและพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก นับได้ว่าท่านเป็นผู้มีบทบาทในการจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างดีท่านหนึ่ง
พระนางมัลลิกา

พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้) นางมีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันหรือไม่ก็จัดดอกไปให้เป็นระเบียบเพื่อไว้ขายเป็นประจำ นอกจากนี้นางยังได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย
เมื่อนางมีอายุประมาณ 16 ปี ขณะเก็บดอกไม้ นางได้ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ไปพลางอย่างมีความสุข และในขณะนั้นเองพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน ได้ฟังเพลงที่นางขับร้องได้อย่างไพเราะจับใจจึงปรากฏพระองค์ขึ้นและสนทนากับนาง ก็รู้สึกพอพระทัยมากขึ้น ต่อมาอีกสองสามวัน พระองค์จึงส่งเจ้าหน้าที่ให้ไปรับนางมาไว้ในพระราชวัง นางจึงรู้ความจริงว่า บุรุษที่นางสนทนาด้วยในวันก่อนนั้นเป็นพระราชาพระนามว่า ปเสนทิโกศล และพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงอภิเษกสมรสกับนาง และทรงสถาปนาให้เป็นพระมเหสีด้วย
พระนางมัลลิกาเป็นสตรีที่มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีทรงเป็นที่รักและชื่นชมของพระสวามีเป็นอย่างมากพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแม้ว่าในระยะหลังนี้พระองค์จะหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาก็ยังมีความเชื่อลัทธิดั้งเดิมบางอย่างอยู่ เช่น เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชายัญ ครั้งหนึ่ง พระองค์รับสั่งให้ตระเตรียมพิธีบูชายิ่งใหญ่ มีการฆ่าสัตว์อย่างละ 700 ตัว เซ่นสรวงด้วย พระนางมัลลิกาทรงทัดทานมิให้พระองค์ทำบาป และได้แนะนำให้พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอรับคำแนะนำซึ่งพระองค์ก็ทรงทำตาม และยกเลิกพิธีบูชายัญ
อนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลแข่งกับชาวเมืองทำบุญกัน ประชาชนมักจะทำทานอันประณีตและมโหฬาร พระเจ้าปเสนทิโกศลจนพระทัยไม่รู้จะทำประการใด จึงจะทำให้ทานของพระองค์มโหฬารและแปลกใหม่กว่าประชาชน จึงขอรับคำแนะนำจากพระนางมัลลิกา ซึ่งพระนางมัลลิกาก็แนะนำให้พระองค์ทรงทำ “อสทิสทาน” (ทานที่ไม่มีใครเหมือน) และพระองค์ก็ทรงทำตาม นับว่าเป็นความเฉลียวฉลาดอันเกิดจากสติปัญญาของพระนางมัลลิกาอย่างแท้จริง
พระนางมัลลิกาไม่มีพระราชโอรส เมื่อพระนางพระครรภ์แก่ จวนจะมีประสูติกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความปรารถนา
อยากได้พระราชโอรส ทรงตั้งความหวังไว้ในพระทัยไว้มาก แต่เมื่อพระนางมัลลิกาประสูติพระราชธิดา ทำให้พระองค์เสียพระทัยมาก จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรับทุกข์พระพุทธเจ้าตรัสปลอบพระทัยว่า ธิดาหรือโอรสไม่สำคัญ เพศมิใช่เป็นเครื่องแบ่งหรือบอกความแตกต่างในด้านความรู้ความสามารถ สตรีที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติธรรม และเป็นมารดาของบุคคลสำคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษ ด้วยพระดำรัสนี้ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนางมัลลิกาว่า พระนางรักพระองค์ไหม รักมาเพียงใด แต่พระนางมัลลิกากลับตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด ด้วยคำตอบของพระนางทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงน้อยพระทัยด้วยทรงคิดว่าพระมเหสีไม่รักพระองค์เสมอเหมือนชีวิตของนาง เมื่อมีโอกาสเหมาะจึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องดังกล่าว พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า “มัลลิกาพูดถูกแล้วมหาบพิตร เพราะบรรดาความรักทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความรักใดจะเท่ากับความรักตนเอง มัลลิกาพูดคำจริงตรงกับใจเธอ มหาบพิตรควรจะชื่นชมมเหสีที่ยึดมั่นในสัจจะ (ความจริง) เช่นนี้”พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังพระดำรัสนี้แล้วจึงค่อยคลายความน้อยพระทัยลงได้
พระนางมัลลิกาเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในธรรม และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมด้วย ในฐานะพระมเหสีของพระราชา พระนางเป็น
พระสาวิกาพึ่งตัวเองได้ในทางธรรมและช่วยให้ผู้อื่นโดยเฉพาะพระสวามีพึ่งตัวเองได้ด้วย พระนางจึงทรงเป็นสตรีตัวอย่างที่ดีท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระนางมัลลิกาเป็นผู้กตัญญูกตเวที กล่าวคือ เมื่อพระนางยังเป็นเด็กสาวธิดาของนายมาลาการนั้น พระนางได้ช่วยบิดาเก็บดอกไม้ในสวนและจัดให้เป็นระเบียบเพื่อนำไปขายทุกวั้น นับว่าพระนางเป็นผู้กตัญญูช่วยเหลือกิจการของบิดาและมีความขยันเป็นอย่างยิ่ง
2. พระนางมัลลิกาเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงทัดทานพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นพระสวามีมิให้กระทำบาป
ด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญ และทรงแนะนำให้พระสวามีให้พึ่งตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมและยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมความดี พระนางจึงทรงเป็นที่รักและโปรดปรานของพระสวามีเป็นอย่างยิ่ง
3. พระนางมัลลิกาทรงเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนา และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย
พระนางมัลลิกา
พระนางมัลลิกาอีกคนหนึ่งเป็นธิดาของมัลละกษัตริย์องค์หนึ่ง ในเมืองกุสินารา ภายหลังได้สมรสกับพันธุละเสนาบดี ซึ่งพระนางมัลลิกาที่จะศึกษาในที่นี้ หมายถึง พระนางผู้เป็นภรรยาของพันธุละเสนาบดี พระนางมัลลิกาเป็นราชธิดาของมัลลกษัตริย์พระองค์หนึ่งในเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ พระนางเป็นหญิงเบญจกับยาณีที่มีความงามพร้อมทุกสัดส่วน คือ มีผมงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ผิวพรรณงาม และวัยงาม เมื่อเจริญวัย พระนางมัลลิกาก็ได้สมรสกับเสนาบดีพันธุละ โอรสของมัลลกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งในเมืองกุสินาราเช่นกัน จากนั้นได้พากันอพยพไปอยู่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล เพื่อไปพึ่งบารมีพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นพระสหายสนิท พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า เสนาบดีพันธูละ พระสหายมีฝีมือในการทำสงคราม จึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีบัญชาการกองทัพเมื่อพระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาประกาศพระศาสนา ณ แคว้นโกศล ทำให้ศาสนาได้แพร่หลายที่เมืองสาวัตถี ประชาชนพากันนับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ได้มีการสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้น 2 วัด คือ วัดเชตวัน สร้างถวายโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี และวัดบุพพาราม สร้างถวายโดยนางวิสาขา เสนาบดีพันธุละและพระนางมัลลิกาได้มีโอกาสฟังธรรมของพระพุทธเจ้าและได้ นับถือพระพุทธศาสนาจากวัดทั้งสองแห่งนี้เสนาบดีพันธุละและ พระนางมัลลิกาได้สมรสกันแล้วหลายปี แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ตามธรรมเนียมอินเดียสมัยนั้นถือว่าเคร่งครัดว่า ถ้าสตรีใดไม่มีบุตรกับสามี สตรีนั้นเป็นอัปมงคล เสนาบดีพันธุละจึงส่งพระนางมัลลิกากลับเมืองกุสินารา การส่งพระนางมัลลิกากลับนั้นเท่ากับไม่ยอมรับความเป็นภรรยาสามีพระนางมัลลิกาจึงยอมกลับบ้านเมืองของตน ก่อนกลับให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าที่เชตวัน พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความจริงแล้วตรัสแก่พระนางมัลลิกาว่า ไม่ต้องกลับไปบ้านหรอก กลับไปอยู่กับท่านเสนาบดีพันธุละเถิด
เสนาพันธุละได้เห็นพระนางมัลลิกากลับมา จึงถามว่า กลับมาทำไม เมื่อพระนางมัลลิกาเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังแล้ว เสนาพันธุละจึงรำพึงว่า พระพุทธเจ้าคงเห็นการณ์ไกลบางอย่าง จึงให้พระนางมัลลิกากลับ เสนาบดีพันธุละจึงรับพระนางมัลลิกาไว้เป็นชายาตามเดิม ต่อมาไม่นานนัก
พระนางมัลลิกาได้ตั้งครรภ์ เมื่อครบกำหนดแล้วคลอดบุตรแฝดเป็นชายทั้งคู่ เสนาบดีพันธุละกับพระนางมัลลิกาอยู่ร่วมกันมีบุตรชายอีก 32 คน ล้วนแฝดทั้งสิ้น เมื่อทุกคนเติบโตก็ได้รับการศึกษาเล่าเรียน และได้เข้ารับราชการทหารในกองทัพ เสนาบดีพันธุละเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นคนซื่อตรง จนได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าปเสนทิโกศลให้เป็นผู้มีหน้าที่ปรบปรามข้าราชการที่ทุจริต ซึ่งเสนาบดีพันธุละได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี เป็นที่เคารพเชื่อถือของประชาชนทั่วไป แต่การปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามข้าราชการที่ทุจริตคดโกงนี้ได้ทำให้เสนาบดีพันธุละมีศัตรูมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการที่สูญเสียผลประโยชน์และอำนาจ จึงได้ยุยงและใส่ความว่า เสนาบดีพันธุละคิดจะแย่งอำนาจราชบัลลังก์จากพระเจ้าปเสนทิโกศล
ครั้งแรกพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงไม่เชื่อ แต่หนักๆ เข้าก็มีพระทัยหวั่นไหว ทั้งนี้เพราะได้สังเกตเห็นความนับถือของประชาชนชาวเมืองที่มีต่อเสนาบดีพันธุละ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงให้คณะนายทหารวางแผนฆ่าเสนาบดีพันธุละ พร้อมกับบุตรชายทุกคนที่เป็นนายทหาร
พระนางมัลลิกาทรงทราบข่าวร้ายจากผู้ที่หวังดีที่แอบเขียนจดหมายส่งข่าวมาบอกว่า สามีและบุตรชายของนางทุกคนถูกฆ่าตาย ซึ่งในขณะนั้นพระนางมัลลิกากำลังทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน การทำบุญเลี้ยงพระในครั้งนั้น พระนางมัลลิกาได้นิมนต์พระสารีบุตรมาเป็นประธานสงฆ์ ขณะที่กำลังทำบุญเลี้ยงพระอยู่นั้น หญิงรับใช้ได้ยกถาดอาหารออกมาเพื่อจะถวายพระสารีบุตรหกล้ม ทำให้ถาดอาหารหลุดมือตกลงแตกกระจายต่อหน้าพระสารีบุตรและพระนางมัลลิกา พระสารีบุตรจึงกล่าวเป็นทำนองให้สติพระนางมัลลิกาว่า สิ่งของแตกสลายเป็นเรื่องธรรมดา มันแตกสลายไปแล้วก็ช่างเถอะ อย่าได้คิดเสียใจเลย เมื่อพระนางมัลลิกาได้ยินพระสารีบุตรกล่าวดังนั้น ก็ได้หยิบจดหมายลับซึ่งแจ้งข่าวร้ายเกี่ยวกับการตายของสามีและลูกๆ ของนางออกมาอ่านให้พระสารีบุตรฟัง พร้อมกับกล่าวว่า สิ่งของที่แตกสลายนี้ดิฉันทำใจได้ ไม่คิดเสียใจแต่อย่างใด แม้แต่ข่าวร้าย คือ การตายของพระสวามีและลูกๆ ของดิฉันยังทำใจได้ไม่เสียใจเลย เมื่อพระสารีบุตรพร้อมด้วยพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วได้กล่าว
อนุโมนทาแก่พระนางมัลลิกาว่า ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ได้ ทั้งลำบาก ทั้งอายุสั้น ซ้ำเต็มไปด้วยความทุกข์
ภายหลังทำบุญ เลี้ยงพระเสร็จแล้ว พระนางมัลลิกาได้เรียกลูกสะใภ้ทุกคนมา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พร้อมกับสอนลูกสะใภ้ว่า พวกเจ้าอย่าได้พยาบาทอาฆาตพระเจ้าปเสนทิโกศล ขอให้คิดว่าบิดาและสามีของพวกเจ้าต้องตายครั้งนี้ไม่มีความผิด เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ตายเพราะถูกคำยุยง เนื่องมาจากความอาฆาตริษยา ขอให้คิดว่าบิดาและสามีของพวกเจ้าตายเพราะกรรมเก่าที่เคยทำมาก่อน ขอให้พวกเจ้าทุกคนอย่าได้โกรธและอาฆาต เพราะจะเป็นเวรติดตัวต่อไปอีก ขอให้อภัยแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล มื่อเสนาบดีพันธุละและบุตรชายทั้งหมดถูกฆ่าตายแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ส่งหน่วยสืบราชการลับติดตามความเคลื่อนไหวของพระนางมัลลิกาทุกฝีก้าว ทรงทราบเรื่องพระนางมัลลิกาทำบุญเลี้ยงพระ และเรื่องที่พระนางมัลลิกาประชุมลูกสะใภ้ที่บ้าน เพื่อให้อภัยแก่พระองค์ พระองค์ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก แต่ก็สายเสียแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปที่บ้านของพระนางมัลลิกา แล้วทรงสารภาพว่าพระองค์เป็นฝ่ายผิด ขอให้พระนางมัลลิกายกโทษให้พร้อมกับพระราชทานโอกาสแก่พระนางมัลลิกาว่าต้องการอะไรขอให้บอก จะพระราชทานให้ทุกอย่าง พระนางมัลลิกาจึงฉวยโอกาสขอพระราชทานอนุญาตกกลับไปเมืองกุสินาราบ้านเดิมของตน พระเจ้าปเสนทิโกศลจำต้องพระราชทานโดยไม่เต็มพระทัยนัก แต่เพื่อชดเชยกับเรื่องนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ทรงแต่งตั้งนายทหารผู้หนึ่งชื่อ ทีฆการายนะ ซึ่งเป็นหลานชายของเสนาบดีพันธุละขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่สืบแทนตำแหน่งของเสนาบดีพันธุละ พระนางมัลลิกาและลูกสะใภ้ได้กลับมาอยู่ที่เมืองกุสินาราด้วยความผาสุก โดยวางใจตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จมาเมืองกุสินาราและเสด็จปรินิพพานที่นั้น พระนางมัลลิกาและลูกสะใภ้ก็ได้พากันไปนมัสการพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ด้วย พระนางมัลลิกาได้อยู่ที่เมืองกุสินาราด้วยความสุขจนสิ้นชีวิต
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
- เป็นสาวิกาที่ดีของพระพุทธเจ้า ข้อนี้เห็นได้ชัดจากกรณีทีพระนางมัลลิกาถูกสามีส่งกลับบ้านเกิด เพราะไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ก็คิดถึงพระพุทธเจ้าก่อนอื่น นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า คนเรานั้นต้องมั่นคงในพระรัตนตรัย ก่อนจะทำอะไรก็ให้ “นึกถึงพระ” ก่อน แล้วโอกาสจะทำผิดพลาดย่อมมีน้อย หรือไม่มีเลย
- เข้าใจโลกและชีวิต พระนางมีความเข้าใจธรรมดาของโลกและชีวิตเป็นอย่างดี คือ เข้าใจว่าทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกฏธรรมชาติ เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ย่อมมีจิตปล่อยวางไม่ดีใจเกินไปเมื่อมีสุข ไม่เสียใจเกินไปเมื่อได้ทุกข์ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อทราบว่าสามีและบุตรถูกฆ่า พระนางยังคงมีจิตใจมั่นคง ไม่แสดงอาการเศร้าโศกให้ปรากฏให้ปรากฏ
- เป็นผู้ที่มีความอดทน จากตัวอย่างข้างต้นแสดงว่าพระนางมีขันติธรรมสูงยิ่ง เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น สู้อดกลั้นความเสียใจ ยังคงปฏิบัติหน้ที่คือการเลี้ยงภัตตาหารแด่พระสงฆ์ตามปกติ
- เป็นผู้มีใจกว้าง มีความเมตตาสูงยิ่ง สามีและบุตรถูกฆ่าตายทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด พระนางแม้จะมีความเสียใจ เสียดาย แต่ก็ทำใจได้ ไม่ผูกอาฆาตพยาบาทผู้เป็นเหตุให้พวกเขาตาย และยังสั่งสอนให้สะใภ้ทั้ง 32 คน ไม่ให้ผูกอาฆาตพยาบาทด้วย ให้ถือว่าเป็นผลกรรมของแต่ละคนที่ทำมา นับว่าเป็นผู้มีเมตตากรุณาแท้จริง น้อยคนจะทำได้อย่างนี้
- เป็นภรรยาที่ดี แม้ถูกสามีส่งกลับมาตุภูมิเพราะหาว่าเป็นหมัน พระนางก็ยินดีปฏิบัติตาม ทั้งๆ ที่การที่สามีและภรรยาแต่งงานกันแล้วไม่มีบุตรนั้น ยังไม่แน่ว่าเป็นความบกพร่องของใคร อาจจะเป็นความบกพร่องของสามีก็ได้ แต่พระนางก็ยอมรับว่าตนบกพร่อง นับเป็นภรรยาที่ดีตามคติของชาวชมพูทวีปสมัยโบราณ ปัจจุบันคุณสมบัติข้อนี้ ถึงเราจะไม่นำมาใช้ทั้งหมด ก็สามารถปรับใช้ได้ในประเด็นที่ว่า เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นในครอบครัว ภรรยาหรือสามี ก็ไม่ควรโทษแต่ฝ่ายหนึ่งแต่อย่างเดียว ควรหันมาพิจารณาตนเองด้วยว่าตนเองก็อาจมีข้อบกพร่องอะไรที่ควรปรับปรุงบ้าง เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น
หมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี หญิงนครโสเภณี
ในเมืองราชคฤห์
ตำแหน่งหญิงนครโสเภณีนั้นเป็นนามตำแหน่งที่ทางราชการบ้านเมืองของแต่ละเมืองแต่งตั้งให้
สำหรับคุณสมบัติของสตรีที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นหญิงนครโสเภณีนั้น
จะต้องมีรูปร่างสวยงามที่สุดเล่นดนตรีได้ ขับร้องได้ ฉลาดในการรับแขก
และต้องได้รับการคัดเลือกจากบรรดาเศรษฐีคหบดีและเจ้านายชั้นสูง ธรรมเนียมของหญิงนครโสเภณีนั้น เมื่อมีครรภ์จะงดรับแขกจนกว่าจะคลอดลูก
และหากคลอดลูกเป็นหญิงจะเลี้ยงไว้เพื่อสืบทายาท
หากเป็นชายจะให้คนอื่นเลี้ยงหรือนำไปทิ้งที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั่วไปได้พบเห็นและเก็บเอาไปเลี้ยง
เมื่อนางสาลวดีคลอดบุตรเป็นชาย จึงให้คนนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารทราบข่าวจึงเก็บมาเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า ชีวก (ผู้มีชีวิตอยู่) และมีนามต่อท้ายว่า โกมารภัจจ์ (ผู้ที่พระราชกุมารนำไปเลี้ยงไว้)ชีวกโกมารภัจจ์ได้ศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลาใช้เวลาศึกษาอยู่นานถึง 7 ปี จนสำเร็จวิชาแพทย์ ได้กลับมายังเมืองราชคฤห์ ระหว่างทางที่จะกลับ ได้ทำการรักษาเศรษฐี คหบดี และคนทั่วไป จนคนเหล่านั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านกลับมาถึงเมืองราชคฤห์ ก็ได้นำรางวัลค่าตอบแทนที่ได้รับถวายเจ้าชายอภัย ผู้ทรงเป็นบิดาเลี้ยงซึ่งเจ้าชายก็มอบคืนให้พร้อมกับสร้างบ้านพักแก่ชีวก โกมารภัจจ์ในพระราชวังนั้นเอง
คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารประชวรพระโรค “ภคันทลาพาธ” (โรคริดสีดวงทวาร) ชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้ถวายการ
รักษาจนหายจากการประชวร พระองค์ได้โปรดให้เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการฝ่ายใน และได้พระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติด้วย ซึ่งต่อมาชีวก โกมารภัจจ์ ก็ได้ถวายสวนมะม่วงนั้นให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย
หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้ถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อคราวทรงพระประชวรท่านจึงได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระพุทธเจ้าและได้ให้การรักษาแก่พระสงฆ์ผู้อาพาธด้วย ท่านยังเป็นอุบาสกที่ดีคนหนึ่ง นอกจากจะถวายการรักษาพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านมักหาเวลาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจในธรรมะจากพระพุทธเจ้าอยู่เสมอพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
ยกย่องหมอชีวก โกมารภัจจ์ ว่าเป็นอุบาสกผู้เลิศในด้านมีความเลื่อมใส เป็นหมอที่เสียสละและบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ชื่อเสียงและเกียรติคุณจึงรุ่งโรจน์อยู่กระทั่งทุกวันนี้ และในวงการแพทย์แผนโบราณ ได้ให้ความเคารพนับถือท่านว่า เป็น”บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ”
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีความเสียสละ หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้ทำการรักษาคนทั่วไปด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง ท่านไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ท่านยังได้รับหน้าที่เป็นแพทย์หลวง และแพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า ดูแลรักษาการอาพาธของพระสงฆ์ ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงเป็นที่รักของปวงชนทั่วไป
2. เป็นแบบอย่างที่ดี แพทย์แผนโบราณให้ความเคารพนับถือหมอชีวก โกมารภัจจ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับฐานะ ให้การรักษาผู้เจ็บป่วยโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้มีพระคุณ เช่นเมื่อท่านได้รับค่าตอบแทนจากการรักษาก็นำไปถวายเจ้าชายอภัยเพื่อบูชาพระคุณ เป็นต้น
เมื่อนางสาลวดีคลอดบุตรเป็นชาย จึงให้คนนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารทราบข่าวจึงเก็บมาเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า ชีวก (ผู้มีชีวิตอยู่) และมีนามต่อท้ายว่า โกมารภัจจ์ (ผู้ที่พระราชกุมารนำไปเลี้ยงไว้)ชีวกโกมารภัจจ์ได้ศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลาใช้เวลาศึกษาอยู่นานถึง 7 ปี จนสำเร็จวิชาแพทย์ ได้กลับมายังเมืองราชคฤห์ ระหว่างทางที่จะกลับ ได้ทำการรักษาเศรษฐี คหบดี และคนทั่วไป จนคนเหล่านั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านกลับมาถึงเมืองราชคฤห์ ก็ได้นำรางวัลค่าตอบแทนที่ได้รับถวายเจ้าชายอภัย ผู้ทรงเป็นบิดาเลี้ยงซึ่งเจ้าชายก็มอบคืนให้พร้อมกับสร้างบ้านพักแก่ชีวก โกมารภัจจ์ในพระราชวังนั้นเอง
คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารประชวรพระโรค “ภคันทลาพาธ” (โรคริดสีดวงทวาร) ชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้ถวายการ
รักษาจนหายจากการประชวร พระองค์ได้โปรดให้เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการฝ่ายใน และได้พระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติด้วย ซึ่งต่อมาชีวก โกมารภัจจ์ ก็ได้ถวายสวนมะม่วงนั้นให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย
หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้ถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อคราวทรงพระประชวรท่านจึงได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระพุทธเจ้าและได้ให้การรักษาแก่พระสงฆ์ผู้อาพาธด้วย ท่านยังเป็นอุบาสกที่ดีคนหนึ่ง นอกจากจะถวายการรักษาพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านมักหาเวลาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจในธรรมะจากพระพุทธเจ้าอยู่เสมอพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
ยกย่องหมอชีวก โกมารภัจจ์ ว่าเป็นอุบาสกผู้เลิศในด้านมีความเลื่อมใส เป็นหมอที่เสียสละและบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ชื่อเสียงและเกียรติคุณจึงรุ่งโรจน์อยู่กระทั่งทุกวันนี้ และในวงการแพทย์แผนโบราณ ได้ให้ความเคารพนับถือท่านว่า เป็น”บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ”
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีความเสียสละ หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้ทำการรักษาคนทั่วไปด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง ท่านไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ท่านยังได้รับหน้าที่เป็นแพทย์หลวง และแพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า ดูแลรักษาการอาพาธของพระสงฆ์ ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงเป็นที่รักของปวงชนทั่วไป
2. เป็นแบบอย่างที่ดี แพทย์แผนโบราณให้ความเคารพนับถือหมอชีวก โกมารภัจจ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับฐานะ ให้การรักษาผู้เจ็บป่วยโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้มีพระคุณ เช่นเมื่อท่านได้รับค่าตอบแทนจากการรักษาก็นำไปถวายเจ้าชายอภัยเพื่อบูชาพระคุณ เป็นต้น
เวสสันดรชาดก
พระเวสสันดรเป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีเจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ ชาลีกุมาร และกัณหากุมารี
พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” คือให้ของอย่างละ 700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัททรี
ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามีราคาค่าไถ่ตัวเป็นทองคำพันลิ่ม (ก้อน) พร้อมทั้งทาสีหนึ่งร้อย ช้างหนึ่งร้อย ม้าหนึ่งร้อย โคอุสภราชหนึ่งร้อย และทองคำร้อยลิ่ม (ก้อน)พระอินทร์พอทราบเหตุนั้นก็เกรงว่าพระเวสสันดรจะยกพระนางมัทรีให้คนอื่นอีก จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอพระนางมัทรีแล้วได้ถวายคืน เพื่อให้พระนางอยู่ปรนนิบัติพระสวามีพร้อมกับถวายพรแด่พระเวสสันดร

พระเวสสันดรเป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีเจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ ชาลีกุมาร และกัณหากุมารี
พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” คือให้ของอย่างละ 700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัททรี
ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามีราคาค่าไถ่ตัวเป็นทองคำพันลิ่ม (ก้อน) พร้อมทั้งทาสีหนึ่งร้อย ช้างหนึ่งร้อย ม้าหนึ่งร้อย โคอุสภราชหนึ่งร้อย และทองคำร้อยลิ่ม (ก้อน)พระอินทร์พอทราบเหตุนั้นก็เกรงว่าพระเวสสันดรจะยกพระนางมัทรีให้คนอื่นอีก จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอพระนางมัทรีแล้วได้ถวายคืน เพื่อให้พระนางอยู่ปรนนิบัติพระสวามีพร้อมกับถวายพรแด่พระเวสสันดร
8 ประการคือ
1. ขอให้พระเจ้าสัญชัยมาทูลเชิญเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ
2. ขอให้ได้ช่วยปลดเปลื้องชาวเมืองพ้นภัยทุกเมื่อ
3. ขอให้ชาวแคว้นสีพีมีแต่ความสุข
4. ขออย่าได้ตกอยู่ในอำนาจสตรี
5. ขอให้ได้พบพระโอรสพระธิดาที่พลัดพรากกันไป
6. ขอให้ได้อาหารทิพย์ทุกวันนับแต่ได้กลับไปครองราชสมบัติ
7. ขอให้มีจิตผ่องใสในการให้ทาน และของที่ให้อย่าได้หมด
8. ขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ และเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ฝ่ายชูชกพาสองกุมารออกจากป่ามาก็เกิดหลงทางจนถึงเมืองสีพี และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าสัญชัย พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีจำหลานได้ รับสั่งให้นำทรัพย์สินไถ่ตัวหลานรักทั้งสองไว้ พระเจ้าสัญชัยตรัสถามถึงพระเวสสันดรและพระนางมัทรี สองพระกุมารก็กราบทูลตัดพ้อพระเจ้าปู่พระองค์ทรงสำนึกผิดจึงได้เสด็จไปรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีกลับมายังแคว้นสีพี หลังจากที่ทรงจากแคว้นสีพีไปเป็นเวลาถึง 1 ปี กับ 15 วัน พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมีต่อไป ภพนี้เป็นภพสุดท้ายที่ทรงบำเพ็ญบารมีเบื้องหน้าแต่นี้จักเสด็จอุบัติในดุสิตภพและเมื่อเสด็จจุติจากดุสิตภพนั้นแล้วก็จะเสด็จอุบัติในมนุษยโลกเป็นพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายไม่ทรงเกิดอีกต่อไป
No comments:
Post a Comment